บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2017

ความคืบหน้า 30/10/2560

รูปภาพ
ความคืบหน้า งานที่ทำ 30/10/2560 1.ได้เปลี่ยนภาพปกหนังสือ 2. เพิ่มเนื้อหาในหัวข้อลักษณะประเพณีและวัฒนธรรมของชาวอีสาน ซึ่งมีเนื้อหาเป็นลักษณะตามข้างล่างนี้ ลักษณะ ประเพณี และวัฒนธรรมของของชาวอีสาน         ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช มีแม่น้ำโขงกั้นเขตทางตอนเหนือ และตะวันออกของภาค โดยทางด้านใต้จรดชายแดนกัมพูชา ทางตะวันตกมีเทือกเขาเพชรบูรณ์ และเทือกเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นแยกจากภาคเหนือ และภาคกลาง ซึ่งเทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูกระดึง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสาน เช่น ลำตะคอง แม่น้ำชี และแม่น้ำมูลอีสาน มีเนื้อที่ประมาณ 170,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทย เพลงพื้นบ้าน           สำหรับเพลงพื้นบ้านของภาคอีสานนั้น จะมีท่วงทำนองแตกต่างกันตามแต่ละพื้นที่ โดยจะแบ่งเป็นพื้นที่ใหญ่ ๆ ได้แก่ อีสานเหนือ และอีสานใต้ ซึ่งเพลงพื้นบ้านของภาคอีสาน มักสอดแทรกแง่คิด เกี่ยวกับวิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ไว้อย่างชัดเจน และสามารถแ...

ประเพณีอีสาน

รูปภาพ
ประเพณีภาคอีสาน ฮีตสิบสอง คองสิบสี่  เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติพันธ์ลาว ซึ่งร่วมถึงชาวลาว อีสาน ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมแสดงถึงความเป็นชาติเก่าแก่และเจริญรุ่งเรืองมานาน เป็นเอกลักษณ์ของชาติและท้องถิ่น และมีส่วนช่วยให้ชาติดำรงความเป็นชาติของตนอยู่ตลอดไป ฮีตสิบสอง  มาจากคำสองคำได้แก่  ฮีต  คือคำว่า  จารีต  ซึ่งหมายถึง ความประพฤติ ธรรมเนียม ประเพณี ความประพฤติที่ดี และ  สิบสอง  หมายถึง  สิบสองเดือน  ดังนั้นฮีตสิบสองจึงหมายถึงประเพณีที่ชาวลาวในภาคอีสาน และประเทศลาว ปฏิบัติกันมาในโอกาสต่าง ๆ ทั้งสิบสองเดือนของแต่ละปี เป็นการผสมผสานพิธีกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องผีและพิธีกรรมทางการเกษตร เข้ากับพิธีกรรมทางพุทธศาสนานักปราชญ์โบราณได้วางฮีตสิบสองไว้ดังนี้ เดือนอ้าย - บุญเข้ากรรม เดือนยี่ - บุญ คูณลาน เดือนสาม - บุญข้าวจี่ เดือนสี่ - บุญผะเหวด เดือนห้า - บุญสงกรานต์ เดือนหก - บุญบั้งไฟ เดือนเจ็ด - บุญซำฮะ เดือนแปด - บุญเข้าพรรษา เดือนเก้า - บุญข้าวประดับดิน เดือนสิบ - บุญข้าวสาก เดือนสิบเอ็ด - บุญออกพรรษ...